Hoax – Hawk : เหยี่ยว หลอกๆ

hoax
นั่งอ่านรายงานข่าวที่ว่า ชายคนหนึ่งโดนปลาฉลามกัดขาขาด ขณะกำลังถ่ายรูป Selfie ตัวเอง ใต้น้ำ โดยในภาพจะเห็นปลาฉลามกำลังจะพุ่งเข้าโจมตีจากด้านหลัง  โดยในรายละเอียดของข่าวบอกว่านี่คือภาพสุดท้ายของเขาและภาพนี้โดนอัพโหลดแบบอัตโนมัติลงบนเฟซบุ๊คของตัวเขาเอง อ่านตอนแรกก็อินไปกับข่าวนี้ด้วย  แต่อีกพักเดียวมีคนมาให้ความเห็นใต้ภาพข่าวนั้นว่าเป็น
 
Hoax (อ่านว่า  โฮค ซ์) แปลว่า หลอกเล่น
 
คำนี้เป็นได้ทั้งคำนามและคำกริยาแปลว่า “หลอกลวง หรือ หลอกเล่น”   ดังนั้นสรุปก็คือ ภาพถ่ายกับปลาฉลามที่ว่านั้นเป็นภาพตัดต่อ กลายเป็นเรื่องล้อเล่นหรือหลอกเล่น หรือ Hoax ไปซะอย่างนั้น  ดังนั้นถ้าไปพบไปเห็นรูปอะไรแปลกๆ แผลงๆ บนอินเตอร์เน็ตก่อนจะตัดสินใจเชื่อ ให้ลองดูสักนิดว่า ว่าเป็น Hoax หรือเปล่า   ที่ผมสนใจคำนี้เพราะมีอีกคำที่คล้ายๆ กัน นั่นคือ
 
Hawk (อ่านว่า ฮอค แปลว่า  “เหยี่ยว”
 
คำนี้เป็นคำนามแปลว่า “เหยี่ยว”   หรือจะใช้เรียกนกประเภท ที่ล่าเหยี่อเป็นอาหารก็ได้ ถ้าใน ทางการเมืองการปกครอง คำว่า Hawk นี่จะหมายถึงพวก “สายเหยี่ยว” ที่นิยมใช้กำลังทหารหรือใช้ความรุนแรงในการแก้ปัญหามากกว่าใช้การเจรจาพูดคุย   คำว่า Hawk นี้ถ้าเป็นคำกริยายังอาจหมายถึง  “ขากเสลด หรือไอเพื่อให้เสมหะออกมา”  จะเห็นได้ว่า Hoax และ Hawk นั้นออกเสียงใกล้เคียงกันมากๆ โดย  Hoax จะออกเสียงยาวกว่าเล็กน้อยและ มีเสียง “ซ” ลงท้าย ขณะที่  Hawk ลงท้ายด้วยเสียง “ค”  คำในภาษาอังกฤษที่ออกเสียงคล้ายๆ กันแบบนี้ เราต้องระมัดระวังให้ดี เพราะถ้าออกเสียงพลาดนิดเดียวจาก “เหยี่ยวนักล่า” จะกลายเป็นว่า “หลอกกันเล่น” หรือเปล่า?
 
อาจารย์บอม
 
คื็คื็

 

About Ajbomb

นักหาเรื่อง นักเล่าเรื่อง นักเขียน นักแปล รักการสอน รักเด็ก รักสัตว์ รักธรรมชาติ รักษ์โลก

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น